วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พลังงานจากน้ำพุร้อน


          พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ไม่หมดสิ้นซึ่งปรากฏให้เห็นในรูปของ  น้ำพุร้อน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีน้ำร้อนไหลขึ้นมาจากใต้ผิวดิน แสดงให้เห็นว่าภายในโลกยังคงมีความร้อนอยู่ จึงเป็นแหล่งพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สามารถพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า ด้านอุตสาหกรรม และการเกษตรกรรม อีกทั้งยังพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อีกด้วย โดยประเภทการใช้ประโยชน์ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำพุร้อน อัตราการไหลของน้ำพุร้อน และลักษณะโครงสร้างของชั้นหินที่เป็นหินกักเก็บและเป็นช่องทางการนำน้ำพุร้อนขึ้นมาสู่ผิวโลก

สถานภาพปัจจุบันของพลังงาน

แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพของไทย
        แหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทยมักจะพบอยู่ในบริเวณหินภูเขาไฟที่ดับแล้ว หรืออยู่บริเวณใกล้มวลหินแกรนิตและหินตะกอนอายุต่างๆ กันจากข้อมูลการสำรวจแหล่งน้ำพุร้อนของกรมทรัพยากรธรณี พ.ศ. 2530 พบแหล่งน้ำพุร้อนแล้วมากกว่า 100 แห่ง กระจายอยู่ในทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีอุณหภูมิน้ำร้อนที่ผิวดินอยู่ในช่วง 40-100oC
การพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพและการใช้ประโยชน์        แหล่งน้ำพุร้อนหลายแหล่ง บริเวณภาคเหนือมีศักยภาพสูง สามารถพัฒนาผลิตกระแสไฟฟ้า หรือใช้ประโยชน์โดยตรง หน่วยงานต่างๆ ที่ได้ดำเนินการสำรวจแหล่งน้ำพุร้อน เช่น  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสำรวจแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ  เพื่อต้องการใช้เป็นพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า   กรมทรัพยากรธรณีและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ศึกษาเพื่อจำแนกขนาดของศักยภาพแหล่งพลังงานความร้อนแต่ละแหล่ง และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สำรวจพัฒนาใช้ประโยชน์จากน้ำพุร้อนโดยตรงเพื่อการอบแห้งพืชผลเกษตรกรรม  

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม


- หากน้ำจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ มีปริมาณแร่ธาตุละลายอยู่ในปริมาณที่สูง การนำมาใช้ก็อาจจะมีผลกระทบ ต่อระบบบาดาล หรือน้ำบนผิวดินที่ใช้ในการเกษตร หรือใช้อุปโภคบริโภคได้ วิธีการป้องกันคือ ทำให้ปริมาณแร่ธาตุเหล่านั้น ตกตะกอนเสียก่อน หรืออัดน้ำที่ผ่านการใช้แล้วนั้นกลับคืนสู่ใต้ผิวดินลงไปอยู่ในชั้นหินที่ปลอดภัย
 - อาจมีก๊าซประเภทที่ไม่รวมตัว เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟต์และก๊าซอื่นๆ มีปริมาณสูงอยู่ วิธีการป้องกันคือ จะต้องเปลี่ยนสภาพของก๊าซ ให้เป็นกรดโดยผ่านก๊าซเข้าไปในน้ำ ก็จะได้กรดซัลฟูริค ซึ่งกรดนี้สามารถ จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย
 - น้ำร้อนที่ผ่านขบวนการใช้ประโยชน์แล้ว ซึ่งหากปล่อยออกมาทันทีก็อาจมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้ วิธีแก้ คือนำน้ำที่ยังร้อนอยู่นี้ไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการอื่นๆ ที่ต้องการ ใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า เช่น ใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม และธาราบำบัด
 - อาจเกิดปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดินได้ หากมีการสูบน้ำร้อนมาใช้ในอัตราที่เร็วกว่าการอัดน้ำเย็นกลับคืนสู่ระบบ วิธีป้องกัน คือ อัดน้ำร้อนที่ใช้แล้ว ลงไปใต้ดินในปริมาณที่สัมพันธ์กับปริมาณน้ำที่สูบขึ้นมาใช้

กลยุทธ์ในการสำรวจและพัฒนา

         การลงทุนสำรวจพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ระดับลึกเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น การพัฒนาความร้อนใต้พิภพที่ระดับตื้น จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการพัฒนาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย โดยลักษณะของการพัฒนาจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำพุร้อน เช่น หากแหล่งน้ำพุร้อนที่จะพัฒนามีอุณหภูมิสูงและมีปริมาณการไหลที่เพียงพอก็จะพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้าแบบ 2 ระบบ พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์น้ำร้อนโดยตรง เช่นเดียวกับที่แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง หากศักยภาพไม่เหมาะที่จะผลิตไฟฟ้า ก็พิจารณาการพัฒนาใช้ประโยชน์โดยตรง เช่นสร้างห้องเย็น ห้องอบแห้ง หรืออุตสาหกรรมและเกษตรกรรมอื่นที่สนับสนุนการดำรงชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น นั้นๆ

*อ้างจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น